การจลาจลในลอสแอนเจลิส พ.ศ. 2535
การจลาจลในลอสแอนเจลิส พ.ศ. 2535

การจลาจลในลอสแอนเจลิส พ.ศ. 2535

การจลาจลในลอสแอนเจลิส พ.ศ. 2535 หรือ การก่อการกำเริบในลอสแอนเจลิส พ.ศ. 2535[5] เป็นการก่อความไม่สงบที่เกิดขึ้นในเทศมณฑลลอสแอนเจลิส ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 ความไม่สงบเริ่มขึ้นในวันที่ 29 เมษายน เมื่อมีคำพิพากษาให้ตำรวจ 4 นายพ้นผิดจากข้อหากระทำการเกินกว่าเหตุและทำร้ายร่างกายขณะจับกุมรอดนีย์ คิง ชายผิวสีที่ก่อเหตุเมาแล้วขับ การจลาจลดำเนินอยู่ 6 วันก่อนจะจบลงในวันที่ 4 พฤษภาคม มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 50 คน ทรัพย์สินเสียหายคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[6]การจลาจลในลอสแอนเจลิสในปี พ.ศ. 2535 เป็นผลพวงมาจากหลายสาเหตุ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2534 ความขัดแย้งทางเชื้อชาติระหว่างชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกากับชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีเพิ่มสูงขึ้นเมื่อซุน จาดู เจ้าของร้านค้าผู้มีเชื้อสายเกาหลียิงลาตาชา ฮาร์ลินส์ เด็กสาวผิวสีวัย 15 ปีจนเสียชีวิตหลังดูกล่าวหาว่าฮาร์ลินส์พยายามขโมยของในร้าน[7][8] เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2534 คณะลูกขุนมีความเห็นให้ดูมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา (voluntary manslaughter) มีโทษสูงสุดคือจำคุก 16 ปี แต่จอยซ์ คาร์ลิน ผู้พิพากษาตัดสินให้ดูถูกคุมประพฤติ 5 ปี บำเพ็ญงานสาธารณประโยชน์ 400 ชั่วโมง และปรับ 500 ดอลลาร์สหรัฐ[9][10] ในเดือนเดียวกับที่ดูก่อเหตุ รอดนีย์ คิงและเพื่อนอีก 2 คนถูกตำรวจจับกุมหลังเมาแล้วขับและพยายามหลบหนีการจับกุม คิงและเพื่อนถูกตำรวจรุมทำร้ายระหว่างการจับกุม ซึ่งมีผู้บันทึกวิดีโอเหตุการณ์ไว้ได้แล้วส่งไปให้สำนักข่าวท้องถิ่นเคทีแอลเอ[11]:85 เดือนเมษายน พ.ศ. 2535 หลังอัยการเขตเทศมณฑลลอสแอนเจลิสตั้งข้อหาตำรวจ 4 นายว่ากระทำการเกินกว่าเหตุและใช้กำลังประทุษร้าย[12] คณะลูกขุนที่ส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกันผิวขาวมีความเห็นให้ตำรวจทั้ง 4 นายไม่มีความผิด[13] หลังตีความเหตุการณ์ในวิดีโอว่าคิงพยายามขัดขืนการจับกุม[14]หลังประกาศคำพิพากษาในวันที่ 29 เมษายน เกิดการชุมนุมที่หน้ากรมตำรวจลอสแอนเจลิสและชาวผิวสีบางกลุ่มที่โกรธแค้นเริ่มไล่ทำร้ายชาวอเมริกันผิวขาวในลอสแอนเจลิสใต้ ก่อนที่วันต่อมามีการประกาศเคอร์ฟิว และความรุนแรงแผ่ขยายไปเป็นการวางเพลิงและปล้นทรัพย์ในลอสแอนเจลิสกลาง รวมถึงการปะทะกันระหว่างชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกากับชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีเมื่อมีผู้ก่อการจลาจลบุกโคเรียทาวน์ วันที่ 1 พฤษภาคม รอดนีย์ คิงเรียกร้องให้มีการยุติการจลาจล มีการเคลื่อนกำลังจากรัฐบาลท้องถิ่นและรัฐบาลกลางรวมกว่า 10,000 นายเข้ามาในเมือง วันที่ 4 ของการจลาจล (2 พฤษภาคม) มีการเพิ่มกำลังเสริมรวมเป็น 13,500 นาย ทำให้ลอสแอนเจลิสกลายเป็นเมืองที่ถูกกองประจำการสหรัฐยึดครองมากที่สุดนับตั้งแต่การจลาจลในวอชิงตัน ดี.ซี. พ.ศ. 2511[15] การจลาจลจบลงในวันที่ 4 พฤษภาคม เมื่อกองกำลังรัฐบาลควบคุมสถานการณ์ไว้ได้และยกเลิกเคอร์ฟิว แต่ให้คงกำลังไว้จนถึงวันที่ 27 พฤษภาคม[16]หลังเหตุการณ์สงบ มีผู้เสียชีวิต 63 คน บาดเจ็บ 2,383 คน และถูกจับกุม 12,111 คน อาคารบ้านเรือนถูกเผาทำลายกว่า 3,767 แห่ง[17] กรมตำรวจลอสแอนเจลิสถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงบทบาทในการควบคุมและจัดการสถานการณ์ที่ผิดพลาดจนแดริล เกตส์ ผู้บัญชาการตำรวจประกาศลาออก[18] ด้านคดีรอดนีย์ คิงได้รับการพิจารณาใหม่ในปี พ.ศ. 2536 นำไปสู่การตัดสินโทษตำรวจ 4 นายที่เคยทำร้ายคิง โดย 2 นายได้รับโทษจำคุก 30 เดือนฐานละเมิดสิทธิพลเมือง ส่วนอีก 2 นายถูกไล่ออกจากกรมตำรวจลอสแอนเจลิส[19] ส่วนคิงได้รับเงินชดเชย 3.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[20]

การจลาจลในลอสแอนเจลิส พ.ศ. 2535

วิธีการ การจลาจล การปล้นทรัพย์ การประทุษร้าย การวางเพลิง การประท้วง การทำลายทรัพย์สิน และการยิงกัน
สาเหตุ
บาดเจ็บ 2,383
สถานที่ เทศมณฑลลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ
วันที่ 29 เมษายน – 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
เสียชีวิต 63[2]
ถูกจับกุม 12,111[3][4]

แหล่งที่มา

WikiPedia: การจลาจลในลอสแอนเจลิส พ.ศ. 2535 http://latimesblogs.latimes.com/lanow/2012/04/los-... http://www.globalsecurity.org/military/ops/jtf-la.... https://www.britannica.com/event/Los-Angeles-Riots... https://edition.cnn.com/2013/09/18/us/los-angeles-... https://books.google.com/?id=XDsTCgAAQBAJ&pg=PA186... https://books.google.com/?id=YBPG3MgSdDEC&pg=PA424... https://books.google.com/books/about/Revolts_Prote... https://books.google.com/books?id=hchHDwAAQBAJ&pg=... https://www.latimes.com/archives/la-xpm-1992-06-18... https://www.latimes.com/local/california/la-me-031...